กฟผ. ร่วมกับ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์นวัตกรรมด้านการออกแบบอุตสาหกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 อัจฉริยะ สำหรับเครื่องปรับอากาศ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการโครงการ “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผลิตและนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและมีราคาที่เหมาะสม สร้างแรงจูงใจ สร้างทัศนคติ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชน รวมถึงสนับสนุนและแสวงหาเทคโนโลยีการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า และการบริหารการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและประเทศชาติโดยรวม ดังนั้นนับเป็นเวลากว่า 30 ปีที่ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ กฟผ. เป็นที่คุ้นเคยของประชาชนผู้บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ที่ กฟผ. เปิดให้เข้าร่วมโครงการที่ประชาชนจะต้องพิจารณาว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีการติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หรือไม่ ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ในช่วงเวลา 30 ปีทีผ่านมา กฟผ. มีการพัฒนาปรับปรุงรายละเอียดของฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 มาโดยตลอดทั้งในเรื่องของเกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในแต่ละผลิตภัณฑ์ รวมถึงรายละเอียดของตัวฉลากในด้านของการออกแบบฯ (Appearance) เพื่อให้ประชาชนหรือผู้บริโภคสามารถทราบถึงรายละเอียดการใช้พลังงานของแต่ละผลิตภัณฑ์มากที่สุด           อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าโลกได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ หลายองค์กรให้ความสำคัญกับการพลิกรูปแบบการทำธุรกิจโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับธุรกิจขององค์กรตัวเองหรือที่เรียกว่า “Digital Transformation” ด้วยการลงทุนพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ช่วงชิงโอกาสและความสามารถในการแข่งขัน มีการประมาณการสถิติต่างๆ จากหลายหน่วยงานในเรื่องของ Digital Transformation อาทิเช่น มูลค่าการลงทุนทั้งโลกในเรื่อง Digital […]

ฉลากประหยัดไฟเบอร์5

November 1, 2565

กิจกรรมสัมพันธ์ ระหว่าง กฟผ. กับ สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย

เมื่อวันที่ 18-20 ต.ค. 2565 กสอ-ย. ได้ดำเนินจัดกิจกรรมสัมพันธ์ ระหว่าง กฟผ. กับ สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย ณ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 84 ท่าน โดยมีการจัดกิจกรรมสันทนาการโดยทีมงาน กสอ-ย. และมีการดำเนินการประชุมหารือการดำเนินงานทั้งที่ผ่านมา และที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต โดย กสอ-ย. และ กกค-ย. ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง กฟผ. กับสมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย ต่อไป

ฉลากประหยัดไฟเบอร์5

November 1, 2565

เปิดเทอมใหม่แบบรักษ์โลกด้วย “ชุดนักเรียนเบอร์ 5” ใส่สบาย ไม่ต้องรีด พร้อมเดินหน้าฉลากเบอร์ 5 สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้า

         กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กฟผ. และพันธมิตร เปิดตัวชุดนักเรียนเบอร์ 5 ต้อนรับเปิดเทอมใหม่แบบรักษ์โลก สวมใส่สบาย ไม่ต้องรีด พร้อมเดินหน้าการติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับอุปกรณ์ชาร์จ EV แบตเตอรี่จักรยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนหลายชุดระบบปรับน้ำยาแปรผัน หนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ          วานนี้ (28 ตุลาคม 2565) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหน่วยงานพันธมิตร ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พร้อมมอบโล่โครงการที่ปรึกษาพลังงาน และโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ จ.นนทบุรี เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการลดการใช้ไฟฟ้า อนุรักษ์พลังงาน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มุ่งสู่พลังงานสะอาด และความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามเป้าหมายของประเทศ […]

ฉลากประหยัดไฟเบอร์5

October 28, 2565

เปิด 5 โมเดลธุรกิจ Circular Economy

ปัจจุบัน ทรัพยากรธรรมชาติหมดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ทั่วโลกจึงต้องเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานให้เป็นรูปแบบ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนเองเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ⚡ ในวันนี้ About Environmental by EGAT จะพาทุกคนมารู้จักโมเดลธุรกิจด้าน Circular Economy แบบต่าง ๆ กัน ตามไปดูกันได้เลย! โมเดล Circular Supplies โมเดล Circular Supplies จะใช้พลังงานหมุนเวียน และนำวัสดุชีวภาพ (bio-based materials) หรือวัสดุที่รีไซเคิลได้ทั้งหมด (fully recyclable materials) มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เพื่อลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดการเกิดของเสีย โมเดล Resource Recovery โมเดล Resource Recovery เน้นการออกแบบให้มี “ระบบนำกลับ” เพื่อนำวัตถุดิบเหลือใช้ ผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by-product) หรือของเสีย (waste) ซึ่งยังสามารถใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการใหม่ เพื่อลดการเหลือทิ้งให้มากที่สุด โมเดล Circular Design […]

ฉลากประหยัดไฟเบอร์5

October 26, 2565

ฉลากประหยัดไฟเบอร์5

November 16, 2564

ฉลากประหยัดไฟเบอร์5

November 16, 2564

ฉลากประหยัดไฟเบอร์5

November 16, 2564
1 2 3