เปิด 5 โมเดลธุรกิจ Circular Economy

ปัจจุบัน ทรัพยากรธรรมชาติหมดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ทั่วโลกจึงต้องเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานให้เป็นรูปแบบ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนเองเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

⚡ ในวันนี้ About Environmental by EGAT จะพาทุกคนมารู้จักโมเดลธุรกิจด้าน Circular Economy แบบต่าง ๆ กัน ตามไปดูกันได้เลย!

โมเดล Circular Supplies

โมเดล Circular Supplies จะใช้พลังงานหมุนเวียน และนำวัสดุชีวภาพ (bio-based materials) หรือวัสดุที่รีไซเคิลได้ทั้งหมด (fully recyclable materials) มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เพื่อลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดการเกิดของเสีย

โมเดล Resource Recovery

โมเดล Resource Recovery เน้นการออกแบบให้มี “ระบบนำกลับ” เพื่อนำวัตถุดิบเหลือใช้ ผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by-product) หรือของเสีย (waste) ซึ่งยังสามารถใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการใหม่ เพื่อลดการเหลือทิ้งให้มากที่สุด

โมเดล Circular Design

โมเดล Circular Design เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน โดยการซ่อมแซม อัปเกรด ตลอดจนการใช้นวัตกรรม

โมเดล Sharing Platform

โมเดล Sharing Platform มุ่งเน้นการใช้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เพื่อใช้ผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โมเดล Product as a service

โมเดล Product as a service เป็นโมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนจากการซื้อขายขาด เป็นบริการในรูปแบบการเช่า หรือ การจ่ายเมื่อใช้งาน (pay-for-use) นอกจากจะช่วยลดการใช้จ่ายของผู้ใช้บริการแล้ว ยังช่วยให้ใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

จากโมเดลธุรกิจด้าน Circular Economy ทั้ง 5 โมเดล กฟผ. ได้นำมาประยุกต์ใช้และสร้างแนวทางการดำเนินงานด้าน Circular Economy ขององค์การ 4 แนวทางด้วยกัน ได้แก่

1. E – Energy Solutions for Circular Economy จัดหาโซลูชั่นด้านพลังงานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน

2. G – Green and Circular Energy Innovation for Sustainability สร้างสรรค์นวัตกรรมพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสีเขียวเพื่อความยั่งยืน

3. A – Agile EGAT to the Circular Economy Organization สร้างความคล่องตัวให้ กฟผ. ในการขับเคลื่อนสู่องค์การเศรษฐกิจหมุนเวียน

4. T – Transition to Circular System and Create Value through Collaboration เปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและสร้างคุณค่าผ่านการทำงานร่วมกันพันธมิตร

แนวทาง Circular Economy ของ กฟผ. มุ่งสู่การเป็นองค์การเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Organization) ได้ตามเป้าหมายภายในปี พ.ศ.2566 และที่สำคัญเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีของโลกใบนี้ให้อยู่ตราบนานเท่านานนั่นเอง