ความเป็นมาจากการขยายตัวของสังคม และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำเป็นต้องขยายแหล่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ซึ่งนอกจากจะต้องจัดหาแหล่งผลิต และใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแล้ว การนำเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ยังต้องใช้เงินลงทุนสูง และมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
งานการจัดการด้วนการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management หรือ DSM) เป็นภารกิจที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2534 และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2536 ภายใต้ชื่อ โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า” (Together Conservation) และได้ดำเนินการโครงการ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” มาโดยตลอด
ปัจจุบัน กฟผ. ยังคงดำเนินการต่อเนื่องกับ โครงการ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” โดยการประสานแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพลังงาน โดยร่วมเป็นคณะทำงานด้านมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานดูแลงานฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ซึ่งมีมาตรฐานตรากระทรวงพลังงานกำกับอยู่ในรูปลักษณ์โฉมใหม่ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
วัตถุประสงค์โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 มุ่งรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่า และมีประสิทธิภาพ ด้วยวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ ดังนี้

  • เพื่อรณรงค์ให้ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ผลิตและนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและมีราคาที่เหมาะสม
  • จูงใจและเสริมสร้างทัศนคติการประหยัดไฟฟ้าแก่ประชาชน โดยให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
  • เสนอทางเลือกของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง
  • สนับสนุนและแสวงหาเทคโนโลยีการประหยัดไฟฟ้า รวมทั้งการบริหารการใช้ไฟฟ้าเพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและประเทศชาติโดยรวม

การดำเนินงาน

เพื่อให้การดำเนินโครงการ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ” บรรลุผลในการลดการใช้พลังงานโดยรวมของชาติ และลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจอย่างจริงจังจากทุกๆ ฝ่าย ดังนั้น กฟผ. จึงใช้แนวทางในการดำเนินโครงการจึงมุ่งที่จะใช้วิธีจูงใจ โดยการสร้างการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่า แก่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกตามประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้า คือ กลุ่มภาคที่อยู่อาศัย กลุ่มภาคธุรกิจ และกลุ่มภาอุตสาหกรรม ด้วยการใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “3 อ.” คือ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า อาคารประหยัดไฟฟ้า และอุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า

  กลยุทธ์ 3 อ.

อ. อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า


อ. อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า : ภาคที่อยู่อาศัย

กลุ่มประชาชนในภาคที่อยู่อาศัย เป็นกลุ่มที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณร้อยละ 25 ของปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ การดำเนินการในภาคที่อยู่อาศัยนี้จึงมุ่งเป้าหมายไปที่การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงโดย กฟผ. ได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิต/ผู้นำเข้า และผู้ประกอบการผลิตและนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงประหยัดไฟ ซึ่งนอกจากจะเป็นการผลักดันให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ให้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงตามไปด้วยแล้ว ยังทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น หลอดอ้วน หมดไปจากตลาดเมืองไทยอีกด้วย

การดำเนินการในภาคที่อยู่อาศัย ได้แก่

  • ปี 2538 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้เย็น
  • ปี 2539 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องปรับอากาศ
  • ปี 2541 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บัลลาสต์เบอร์ 5 นิรภัย
  • ปี 2542 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ข้าวกล้องเบอร์ 5
  • ปี 2544 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมไฟฟ้า
  • ปี 2545 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์
  • ปี 2547 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
  • ปี 2548 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โคมไฟฟ้าแสงสว่างประสิทธิภาพสูง
  • ปี 2552 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมไฟฟ้า ชนิดส่ายรอบตัว
  • ปี 2552 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดฟลูอเรสเซนต์ T5
  • ปี 2552 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ T5
  • ปี 2553 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 Standby Power 1 Watt (เครื่องรับโทรทัศน์/จอคอมพิวเตอร์)
  • ปี 2553 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โคมไฟฟ้าสำหรับหลอดผอมเบอร์ 5
  • ปี 2554 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
  • ปี 2555 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมไฟฟ้าชนิดระบายอากาศ
  • ปี 2555 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า
  • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตารีดไฟฟ้า
  • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องซักผ้าชนิดฝาบนถังเดี่ยว
  • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอด LED
  • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ชุดเปลี่ยนหลอดเบอร์ 5
  • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตาไมโครเวฟ
  • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตาไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ
  • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กาต้มน้ำไฟฟ้า
  • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องรับโทรทัศน์
  • ปี 2558 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้แช่เย็นแสดงสินค้า
  • ปี 2558 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กระทะไฟฟ้า
  • ปี 2559 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ
  • ปี 2560 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้น้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและตู้น้ำเย็นบริโภค
  • ปี 2561 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเบอร์ 5
  • ปี 2562 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ผลิตภัณฑ์จักรยานยนต์ไฟฟ้า


timeline
timeline

อ. อาคารประหยัดไฟฟ้า

อ. อาคาร/โรงงานประหยัดไฟฟ้า : ภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรม

สัดส่วนการใช้พลังงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 75 ของการใช้พลัังงานทั้งประเทศ ยิ่งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าใด การใช้พลังงานจะสูงตามไปด้วย และเพื่อให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญและพร้อมใจกันใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง เช่นเดียวกับกลุ่มภาคที่อยู่อาศัยพร้อมไปกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิด “อ” ที่สอง คือ อาคาร/โรงงานประหยัดไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ การบริหารการใช้ไฟฟ้า การปรับปรุงระบบป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร การใช้ระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูง และการปรับปรุงระบบแสงสว่างการจัดการอบรมให้ความรู้ด้านการใช้พลังงานอย่างถูกต้อง ลดต้นทุนการผลิตสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

อ. อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า

อ. อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า : สร้างการเีรียนรู้สู่เยาวชน และประชาชนทั่วไป

ถึงแม้ว่าจะได้มีการส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัย และอาคารประหยัดไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จแล้วก็ตาม ทัศนคติหรือ การรับรู้เรื่องการประหยัดพลังงาน มีความจำเป็นต้องตอกย้ำ และสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง

กฟผ. ได้ดำเนินโครงการปลูกฝังอุปนิสัยการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพแก่เยาวชนและประชาชน โดยประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครจัดตั้ง ห้องเรียนสีเขียว” (GREEN LEARNING ROOM) เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมในการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพแก่เยาวชนของชาติตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยม โดยผ่านระบบการศึกษาของประเทศเพื่อปลูกฝังอุปนิสัยการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพให้ยั่งยืน ปัจจุบันมีห้องเรียนสีเขียวอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการรณรงค์โฆษณาประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมสนับสนุนผ่านสื่อบุคคลและสื่อสาธารณะ เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมแก่ประชาชน โดยการสร้างเครื่อข่ายของสมาชิกให้เจาะถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างใกล้ชิด สร้างความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 เพื่อนำไปสู่สมาชิกครอบครัวเบอร์ 5 ต่อไป